รถม้า ราชพาหนะ ในหลวง รัชกาลที่9 ครั้งเสด็จฯ ทรงงาน จ.แม่ฮ่องสอน

ในช่วงปีพุทธศักราช ๒๕๒๒ – ๒๕๒๖ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเสด็จพระราชดำเนินเพื่อดำเนินงานในพื้นที่ ศูนย์บริการและพัฒนาที่สูงปางตองตามพระราชดำริเป็นประจำทุกปี แต่เนื่องจากภายในพื้นที่ศูนย์ที่กว้างกว่า ๘,๐๐๐ ไร่ เป็นพื้นที่ทุรกันดาร อยู่ห่างชายแดนเพียง ๑๖ กิโลเมตร ไม่มีถนน มีแต่ดินลูกรัง ทำให้มีความยากลำบากในการเสด็จฯ กรมชลประทานจึงได้จัดสร้างรถม้า เพื่อใช้เป็นพระราชพาหนะในการรับเสด็จฯ อำนวยความสะดวกในการทรงงาน โดยจัดสร้างรถม้า ๔ ที่นั่ง ใช้ม้าเทียม ๒ ตัว จำนวน ๑ คัน และรถม้า ๒ ที่นั่ง ใช้ม้าเทียม ๑ ตัว จำนวน ๒ คัน โดยใช้แบบจากรถม้าและม้าเทียมจากจังหวัดลำปาง กระทั่งในวันเสด็จฯ วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๔ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงงานที่ศูนย์บริการและพัฒนาที่สูงปางตองตามพระราชดำริ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน ทรงเลือกใช้รถม้า ๒ ที่นั่ง […]

ผ้าทอ ปวาเก่อญอ

ชาวปกากะญอ หรือกะเหรี่ยง นิยมใส่เสื้อผ้าฝ้ายทอมือมาแต่สมัยโบราณ ซึ่งแต่เดิมชาวกะเหรี่ยงจะปลูกฝ้ายเอง นำฝ้ายมาปั่นเป็นเส้นด้าย ย้อมด้วยสีธรรมชาติ สร้างลวดลายด้วยการทอ การปักด้วยเส้นไหม และลูกเดือย สตรีชาวกะเหรี่ยง จะถ่ายทอดภูมิปัญญากระบวนการผลิตผ้าทอ แก่บุตรสาว 12-15 ปี เริ่มจากแบบง่ายๆ ฝึกฝนจนมีความชำนาญ และสามารถออกแบบลวดลายด้วยตนเองได้ สำหรับลวดลายผ้าทอของชาวกะเหรี่ยงนั้น มีเรื่องราวเล่าสืบมาว่า ได้มาจากลายหนังงูใหญ่ ซึ่งเป็นคู่รักในอดีตของหญิงสาวชาวกะเหรี่ยง โดยงูจะเปลี่ยนลายทุกวัน และหญิงสาวก็ทอผ้าตามลายที่ปรากฏจนครบ 7 วัน ทอได้ 7 ลาย แต่ลายที่นิยมนำมาทอ และปัก มี 4 ราย คือ โยห่อกือ เกอเป่เผลอ ฉุ่ยข่อลอ อีกลายหนึ่ง คือ ลายทีข่า ปัจจุบัน ยังมีลายที่ยมทอ คือ เกอแนเดอ หรือลายรังผึ้ง และเซอกอพอ หรือ ลายดอกมะเขือ การย้อมผ้าฝ้ายสีธรรมชาติ ใช้เปลือกไม้ เรียกว่า ซาโก่แระ จะได้เป็นสีแดงแกมน้ำตาล ใบฮ่อม เซอ […]

เรื่องเล่าจากเม็ดงา…

เรื่องเล่าจากเม็ดงา…      การปลูกงาพันธุ์พื้นเมืองแม่ฮ่องสอนโดยวิธีการหว่าน ปลูกแบบอินทรีย์ตามวิถีชาวบ้านไม่ใช้สารเคมี ปลูกตามที่ลาดเชิงเขาหรือที่ว่างเปล่าที่น้ำท่วมไม่ถึง โดยรักษาสภาพแวดล้อม การปลูกงาจะเริ่มตั้งแต่กลางเดือนเมษายน – เดือนพฤษภาคม ขึ้นอยู่กับความพร้อมของเกษตรกรและสภาพภูมิอากาศ(งาแต่ละชนิดจะปลูกคนละช่วงกัน ในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนมีการปลูกงาดำ  งาขาว  งามน(งาม้อน) บางแห่งมีการปลูกงาแดงด้วย) งาพันธ์ุพื้นเมืองในช่วงที่กำลังออกดอกและเริ่มจะมีฝักอยูในช่วงเดือนกรกฎาคม เกษตรกรกลุ่มเครือข่ายผู้ปลูกงาเริ่มเก็บเกี่ยวงาในช่วงกลางเดือนสิงหาคม-ถึงต้นเดือนกันยายน ตามอายุของงาแต่ละชนิด(งาดำ  งาขาว  และงามน) วิธีการตากงาที่อยู่ในฝักที่แก่เต็มที่แล้ว แต่ยังมีความชื้นสูงอยู่โดยใช้วิธีตั้งมัดงาให้พิงกันเพื่อให้ได้รับแสงแดดขับไล่ความชื้นจากฝักและเมล็ดงาให้แห้งในระดับหนึ่ง เมื่อมัดงาที่ตากแดดไว้ประมาณ 3-5 แดดหรือจนฝักแห้งและแตกอ้า ก็จะทำการเคาะเมล็ดออกจากฝัก ถ้าเคาะแล้วเมล็ดยังออกจากฝักไม่หมดก็จะตากแดดไว้อีก 2-3 แดดจึงนำมาเคาะเมล็ดอีกครั้ง  ผลผลิตของงาพันธ์ุพื้นเมืองต่อไร่ประมาณ 70-100 กก.ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ สภาพภูมิอากาศในแต่ละปี. อ้างอิง www.muengthai.com

1 2