เครื่องดนตรีไทย ระนาดเอก

 

ระนาด

 

ระนาด คือ เครื่องตีที่นิยมนำมาประสมวงปี่พาทย์  จึงเป็นของจำเป็นและขาดไม่ได้หากขาดระนาดไปจะไม่เรียกวงดนตรีนั้นว่าปี่พาทย์

ระนาดมี 4 อย่าง คือ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเหล็ก และ ระนาดทุ้มเหล็ก

สองชนิดแรก ทำด้วยไม้ ซึ่งแต่เดิมนิยมใช้ไม้ไผ่ตง เหลาเป็นลูกระนาด เรียกว่า ไม้บง

ต่อมาอาจเปลี่ยนแปลงไปเป็นไม้เนื้อแข็งอื่น  เช่น  ไม้ชิงชัน ไม้ประตู่  ไม้มะหาด และ ไม้พยุงก็ได้

 

ระนาดเอกมีเสียงสูง ทั้งผืนมี 21 ลูก ส่วนระนาดทุ้ม มีเสียงตํ่า มีทั้งหมด 18 ลูก ระนาดเอกนั้นเกิดก่อนตั้งแต่สมัยอยุธยา  จึงใช้เป็นตัวยืนอยู่ในวงปี่พาทย์เครื่องห้าของโบราณ

 

 

ระนาดเอก

 

1.ลักษณะทั่วไป

 

ระนาดเป็นเครื่องดนตรีที่มีวิวัฒนาการมาจากกรับ โดยการนำเอากรับที่มีขนาดเล็ก

บ้างใหญ่บ้าง สั้นบ้างยาวบ้าง นำมารวมกันเป็นชุด จึงมีระดับเสียงที่แตกต่างกัน

ระนาดเอกนี้ นักดนตรีส่วนใหญ่ จะเรียกสั้นๆว่า “ระนาด” ส่วนประกอบของระนาดเอก

มีอยู่ 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ ราง ผืน และ ไม้ตี

 

2.ตำแหน่งของเสียง

 

ระนาดจัดเป็นเครื่องดนตรีที่มีระดับเสียงมากที่สุด จำนวน 21-22 ระดับเสียง

ด้วยความที่มีจำนวนระดับเสียงถึง 22 เสียงจึงทำให้ระนาดเอกมีช่วงพิสัย หรือ ความกว้างของระดับเสียงครอบคลุมถึง 3 ช่วงทบเสียงซึ่งส่งผลให้การเคลื่อนที่ของเสียงในการเดิน

ทำนองเป็นไปอย่างไม่ซํ้าซากจำเจอยู่ที่ช่วงระดับเสียงใดเสียงหนึ่ง

 

3.การฝึกหัดบรรเลงระนาดเอก

 

หากยอมรับดนตรีในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของศิลปะ อันเป็นผลงานที่เกิดจาก

ความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ ที่ก่อให้เกิดคุณค่า ความไพเราะ และงดงามแล้ว จะไม่เป็นการยากในการทำความเข้าใจ และเข้าถึงดนตรีไทย ทั้งนี้เนื่องจาก

ทำให้วิธีคิดการมองภาพของสิ่งที่เกิดขึ้น ดำรงอยู่ของดนตรีไทย อย่างไม่แยกจากความเป็นจริงทางสังคม และธรรมชาติ ที่กล่าวนำ เช่นนี้

แต่ละคนมีคุณภาพของนักระนาดที่แตกต่างกัน เช่น คุณภาพของนำเสียง การดำเนินกลอน เป็นต้น แต่ถึงมีความแตกต่างกันอยู่บ้างก็ตาม แต่ วิธีหลักๆ ทุกสำนักจะมีหลักการพื้นฐาน

ที่คล้ายกัน

 

4.การดูแลรักษา

 

คุณภาพของเครื่องดนตรี เป็นปัจจัยที่สำคัญที่ส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพของเสียง

ดังนั้น การดูแลรักษาเครื่องดนตรีให้มีความสมบูรณืตลอดเวลา จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง

ในกรณีของระนาดเอกจะต้องดูแลรักษาส่วนที่เกี่ยวข้องกับส่วนประกอบของระนาด

ทั้ง 3 ส่วน คือ ราง ผืน และไม้ตี

 

ประวัติความเป็นมาและบทบาทของระนาด

 

ระนาดจัดเป็นเครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องตี ผลิตจากวัสดุที่มีอยู่ในธรรมชาติ

ไม้ไผ่และไม้เนื้อแข็ง คำว่า “ระนาด” นั้นเป็นคำไทยแผลง หรือ ยืดเสียงมาจากคำว่า“ราด”

ระนาดมีพัฒนาการมาจากกระบอกไม้ไผ่ในตระกูล “เกราะ-โกร่ง-กรับ” ระนาดยุคแรก

เริ่มแต่ครั้งดึกดำบรรพ์นั้นจะมีกระบอกไม้ไผ่คล้ายลูกระนาดวางเรียงเพียง 2-3 กระบอกเท่านั้น คนตีระนาดต้องนั่งเหยียดขาทอดยาวลงกับพื้นดิน แล้วเอากระบอกระนาด

วางพาดบนขาทั้งสองข้างบางครั้งขุดหลุมดินที่หว่างขาเพื่อให้มีเสียงก้องดังมากขึ้นเมื่อใช้ไม้ตี

 

ระนาดเอกในฐานะผู้นำในการบรรเลง

 

ระนาดเอก วิธีปฎิบัติโดยปกติตีด้วยไม้แข็งพร้อมกันทั้งสองมือ โดยระยะเสียง

ห่างกันเป็นคู่ 8 เก็บถี่เป็นพืดไปในขนาดเทียบกับโน้ตสากล 8 ตัวต่อ 1 ห้องของจังหวะ2/4

แต่บางแห่งอาจตีกรอบ้าง รัวเสียงเดียวบ้าง และรัวเป็นทำนองบ้าง แล้วแต่ทำนองเพลงที่เป็น

ความประสงค์ของผู้แต่ง หน้าที่ของระนาดเอกที่สำคัญก็ คือ เป็นผู้นำวง จะออกเพลงอะไรต่อไป จะออกเพลงอะไรต่อไป จะหยุดหรือจะทอด เหล่านี้ ระนาดเอกเป็นผู้นำ ทั้งสิ้น

ถ้าเพลงไหนมีลูกล้อลูกขัด ระนาดเอกก็จะทำหน้าที่บรรเลงก่อน ด้วยเหตุที่ระนาดเอกมีเสียงดังกว่า

ดนตรีชนิดอื่น เมื่อบรรเลงด้วยไม้แข็ง และ เนื่องจากการคิดสร้างระนาดไม้ของคนไทยเรานี้ มีโอกาสที่จะบรรเลงได้มากเสียง  ใช้ไม้ตี 2 อัน อันละมือ ดังนั้นจึงเกิดเทคนิคการใช้มือ ปฎิบัติต่อผืนระนาดแตกแขนงขึ้นมามากมายเกินจะพรรณาได้ตามเวลาที่ผ่านมา ในที่สุดระนาดก็กลายเป็น  ตัวเอก  หรือ  พระเอกของวงดนตรีไทยไปในที่สุด  เพราะ

สามารถทำให้เกิดเสียงได้มากมาย และ มากในเนื้อหาอารมณ์เกินกว่าเครื่องดนตรีอื่นๆ จะทำได้

ระนาดจึงกลายเป็นตัวนำในการบรรเลงเพลงไทยไปในที่สุด

 

ส่วนประกอบและขั้นตอนการผลิตระนาดเอก

 

ระนาดเอกมีส่วนประกอบที่สำคัญอยู่ 3 ส่วน คือ ผืนระนาด รางระนาด และไม้ตีระนาด ส่วนประกอบเหล่านี้ นับเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์ได้สร้างขึ้นจากไม้ซึ่งเป็นวัสดุที่มีอยู่ตามธรรมชาติ

 

ผืนระนาด

 

1.ลักษณะของผืนระนาด

ผืนระนาดมีวิวัฒนาการมาจากกรับเสภา โดยการนำกรับที่มีขนาดต่างกันมาวางเรียงแล้ว

เคาะให้เกิดเสียงต่างๆ มีทั้งเสียงสูงและเสียงตํ่า ผืนระนาดมีอยู่ 2 ชนิด

1.ผลิตขึ้นจากไม้ไผ่

2.ผลิตขึ้นจากไม้เนื้อแข็ง

ทั้ง  2 ชนิดเหมือนกันคือ มีการนำลูกราดมาวางเรียงต่อกัน

 

2.วิธีการผลิตผืนระนาด

ผืนระนาด เป็นตัวกำเนิดเสียง การนำลูกระนาดที่มีขนาดต่างๆ กันตั้งแต่ลูกใหญ่สุดเรียงไปจนถึงลูกเล็กสุด เจาะรูร้อยเชือกเข้าไว้เป็นแผ่นเดียวกัน

 

รางระนาด

 

1.ลักษณะของรางระนาด

รางระนาด เป็นส่วนประกอบสำคัญของระนาด เป็นตัวกำธรเสียง รางระนาด คล้ายลำเรือ

ผนังรางด้านนอกแกะ หรือ เขียนลวดลาย มีแผ่นไม้ที่เรียกว่า โขนปิดหัวท้ายราง

ราง คือส่วนที่เป็นกล่องเสียงของระนาด ซึ่งเป็นตัวอุ้มเสียงและสะท้อนเสียงในขณะบรรเลง

2.วิธีผลิตรางระนาด

เสียงของระนาดจะดังมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับ รางระนาด ซึ่งต้องมีขนาดความกว้างยาว สูง และความโค้งที่สมดุลย์กัน ช่างที่ทำรางระนาดจะต้องมีการคำนวนสูตร มีความประณีตในการผลิต

 

ไม้ตี

 

1.ลักษณะของไม้ตีระนาดเอก

ไม้ตีระนาดเอกมีหลายลักษณะแตกต่างกันไปทั้งในด้านนํ้าหนัก และ รูปร่าง ซึ่งขึ้นอยู่กับผู้บรรเลงที่จะเลือกใช้ตามความเหมาะสมตามความถนัดและตามโอกาสเพื่อที่จะทำให้

เกิดเสียงต่างกัน เสียงจะนิ่มนวล หรือ ดุดันนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของไม้ที่ใช้ตีระนาด

ไม้ระนาดมีด้วยกัน 2  ชนิด

 

1.ไม้นวม คือ ไม้ตีระนาดที่พันผ้าและใช้ด้ายรัดหลายๆรอบเพื่อความสวยงามและเสียงที่

นิ่มนวล เสียงจะไม่ดังมากเกินไป ใช้สำหรับการบรรเลงระนาดเอกในวงมโหรี หรือ บรรเลงภายในอาคาร

 

2.ไม้แข็ง คือ หัวไม้พันด้วยผ้า แต่ต้องชุบด้วยรักที่ใช้สำหรับปิดทอง เพื่อให้มีความแข็ง

เหมาะสมหรับใช้บรรเลงในวงปี่พาทย์ไม้แข็ง หรือ บรรเลงกลางแจ้ง เมื่อใช้บรรเลงจะมีเสียงดัง

ชัดเจน และสามารถผลิตสำเนียงระนาดเอกได้ชัดเจนทุกพยางค์ นอกจากนี้ยังใช้สำหรับบรรเลงเดี่ยวระนาดเอก

 

2.การผลิตไม้ตี

1.ไม้นวม ใช้อุปกรณ์ ดังนี้

1.ไม้ไผ่

2.กาวนํ้า หรือ แป้งเปียก

3.ผ้าดิบ

4.ผ้าสี

5.ด้ายที่มีคุณภาพเหนียว

 

2.ไม้แข็ง ใช้อุปกรณ์เหมือนไม้นวม แตกต่างเฉพาะความแข็งของหัวไม้เท่านั้น

การที่จะทำให้หัวไม้นั้นแข็งต้องใช้ นํ้ายางรักสีดำ

ขอบคุณภาพ และเรื่องราว จาก กูเกิ้ล และ อินเตอร์เนต