ว่าด้วยเรื่องไม้ไผ่

ต้องถามกันก่อนว่า  ใครบ้างไม่รู้จัก ไม้ไผ่  .. ทุกผู้คน ใน ดินแดนนี้ และ ทั่วๆไป บนโลกใบนี้ ล้วน รู้จัก และ ได้สัมผัส ไม้ไผ่ มากบ้าง น้อยบ้าง ตาม ความสนใจ ของแต่ละคน แต่ถ้าถามต่อว่า ไม้ไผ่ ที่ เราสัมผัสนั้น เป็นไม้ไผ่ ชนิดไหนบ้าง คงมีไม่กี่คนที่กล้ายกมือตอบ แต่หากถามว่า อันนี้ ไม่ไผ่ ใช่ไหม รึ อัน นี้ หน่อไม้ ใช่ไหม หลายคน คงมั่นใจ ที่จะตอบว่า ใช่ เกริ่น นำ มา ยาว เลย ไม่มีอะไรในกอไผ่ หรอก บทความนี้ อยาก มาบอก เล่าเก้าสิบ เรื่องราวของ ไม้ไผ จาก ประสบการณ์ตรง […]

ต้นจามจุรี/ต้นฉำฉา/ต้นก้ามปู(Rain tree)

ต้นจามจุรี หรือมักเรียก ต้นฉำฉา/สำสา หรือ ต้นก้ามปู (Rain tree) เป็นไม้เศรษฐกิจโตเร็วที่ให้เยื่อ และเนื้อไม้ชนิดหนึ่ง นอกจากนั้น เป็นไม้ที่มีกิ่งก้านยาว ปลายกิ่งแตกกิ่งจำนวนมาก ใบมีขนาดเล็กแต่ดก จนมีลักษณะเป็นทรงพุ่มให้ร่มเงาได้มาก ประวัติต้นจามจุรี ต้นจามจุรีมีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ ถูกนำเข้ามาปลูกครั้งแรกในประเทศไทยจากประเทศพม่า เมื่อประมาณปี 2443 (ค.ศ. 1900) โดยมิสเตอร์เอ็ชเสลด (Mr. H. Slade) ที่ตอนนั้นดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมป่าไม้คนแรกของไทย โดยนำไปทดลองปลูกตามข้างถนนของที่ทำการกรมป่าไม้ จังหวัดเชียงใหม่ และบางส่วนได้นำไปปลูกที่จังหวัดกระบี่ ซึ่งสมัยนั้นยังเรียกชื่อต้นจามจุรีว่า “ต้นกิมบี้” ปัจจุบันต้นจามจุรีมักเรียกเป็นชื่ออื่น เช่น ภาคเหนือ และภาคอีสานมมักเรียก ต้นฉำฉา/สำสา หรือ ต้นก้ามปู และชื่ออื่น เช่น สารสา ก้ามกุ้ง ลัง ประโยชน์จามจุรี 1. เนื้อไม้ ใช้นำมาแปรรูปเป็นไม้ก่อสร้างบ้าน ไม้ปูพื้น ไม้ฝ้า ไม้ผนัง คาน ขอบหน้าต่าง หน้าต่าง บานประตู และที่สำคัญนิยมใช้ทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ได้หลายชนิด เนื่องจากมีลายไม้ที่สวยงาม และเนื้อไม้แข็งแรง เช่น ทำโต๊ะ […]

เครื่องดนตรีไทย ระนาดเอก

  ระนาด   ระนาด คือ เครื่องตีที่นิยมนำมาประสมวงปี่พาทย์  จึงเป็นของจำเป็นและขาดไม่ได้หากขาดระนาดไปจะไม่เรียกวงดนตรีนั้นว่าปี่พาทย์ ระนาดมี 4 อย่าง คือ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเหล็ก และ ระนาดทุ้มเหล็ก สองชนิดแรก ทำด้วยไม้ ซึ่งแต่เดิมนิยมใช้ไม้ไผ่ตง เหลาเป็นลูกระนาด เรียกว่า ไม้บง ต่อมาอาจเปลี่ยนแปลงไปเป็นไม้เนื้อแข็งอื่น  เช่น  ไม้ชิงชัน ไม้ประตู่  ไม้มะหาด และ ไม้พยุงก็ได้   ระนาดเอกมีเสียงสูง ทั้งผืนมี 21 ลูก ส่วนระนาดทุ้ม มีเสียงตํ่า มีทั้งหมด 18 ลูก ระนาดเอกนั้นเกิดก่อนตั้งแต่สมัยอยุธยา  จึงใช้เป็นตัวยืนอยู่ในวงปี่พาทย์เครื่องห้าของโบราณ     ระนาดเอก   1.ลักษณะทั่วไป   ระนาดเป็นเครื่องดนตรีที่มีวิวัฒนาการมาจากกรับ โดยการนำเอากรับที่มีขนาดเล็ก บ้างใหญ่บ้าง สั้นบ้างยาวบ้าง นำมารวมกันเป็นชุด จึงมีระดับเสียงที่แตกต่างกัน ระนาดเอกนี้ นักดนตรีส่วนใหญ่ จะเรียกสั้นๆว่า “ระนาด” ส่วนประกอบของระนาดเอก มีอยู่ 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ ราง […]

รถม้า ราชพาหนะ ในหลวง รัชกาลที่9 ครั้งเสด็จฯ ทรงงาน จ.แม่ฮ่องสอน

ในช่วงปีพุทธศักราช ๒๕๒๒ – ๒๕๒๖ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเสด็จพระราชดำเนินเพื่อดำเนินงานในพื้นที่ ศูนย์บริการและพัฒนาที่สูงปางตองตามพระราชดำริเป็นประจำทุกปี แต่เนื่องจากภายในพื้นที่ศูนย์ที่กว้างกว่า ๘,๐๐๐ ไร่ เป็นพื้นที่ทุรกันดาร อยู่ห่างชายแดนเพียง ๑๖ กิโลเมตร ไม่มีถนน มีแต่ดินลูกรัง ทำให้มีความยากลำบากในการเสด็จฯ กรมชลประทานจึงได้จัดสร้างรถม้า เพื่อใช้เป็นพระราชพาหนะในการรับเสด็จฯ อำนวยความสะดวกในการทรงงาน โดยจัดสร้างรถม้า ๔ ที่นั่ง ใช้ม้าเทียม ๒ ตัว จำนวน ๑ คัน และรถม้า ๒ ที่นั่ง ใช้ม้าเทียม ๑ ตัว จำนวน ๒ คัน โดยใช้แบบจากรถม้าและม้าเทียมจากจังหวัดลำปาง กระทั่งในวันเสด็จฯ วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๔ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงงานที่ศูนย์บริการและพัฒนาที่สูงปางตองตามพระราชดำริ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน ทรงเลือกใช้รถม้า ๒ ที่นั่ง […]

ผ้าทอ ปวาเก่อญอ

ชาวปกากะญอ หรือกะเหรี่ยง นิยมใส่เสื้อผ้าฝ้ายทอมือมาแต่สมัยโบราณ ซึ่งแต่เดิมชาวกะเหรี่ยงจะปลูกฝ้ายเอง นำฝ้ายมาปั่นเป็นเส้นด้าย ย้อมด้วยสีธรรมชาติ สร้างลวดลายด้วยการทอ การปักด้วยเส้นไหม และลูกเดือย สตรีชาวกะเหรี่ยง จะถ่ายทอดภูมิปัญญากระบวนการผลิตผ้าทอ แก่บุตรสาว 12-15 ปี เริ่มจากแบบง่ายๆ ฝึกฝนจนมีความชำนาญ และสามารถออกแบบลวดลายด้วยตนเองได้ สำหรับลวดลายผ้าทอของชาวกะเหรี่ยงนั้น มีเรื่องราวเล่าสืบมาว่า ได้มาจากลายหนังงูใหญ่ ซึ่งเป็นคู่รักในอดีตของหญิงสาวชาวกะเหรี่ยง โดยงูจะเปลี่ยนลายทุกวัน และหญิงสาวก็ทอผ้าตามลายที่ปรากฏจนครบ 7 วัน ทอได้ 7 ลาย แต่ลายที่นิยมนำมาทอ และปัก มี 4 ราย คือ โยห่อกือ เกอเป่เผลอ ฉุ่ยข่อลอ อีกลายหนึ่ง คือ ลายทีข่า ปัจจุบัน ยังมีลายที่ยมทอ คือ เกอแนเดอ หรือลายรังผึ้ง และเซอกอพอ หรือ ลายดอกมะเขือ การย้อมผ้าฝ้ายสีธรรมชาติ ใช้เปลือกไม้ เรียกว่า ซาโก่แระ จะได้เป็นสีแดงแกมน้ำตาล ใบฮ่อม เซอ […]

เรื่องเล่าจากเม็ดงา…

เรื่องเล่าจากเม็ดงา…      การปลูกงาพันธุ์พื้นเมืองแม่ฮ่องสอนโดยวิธีการหว่าน ปลูกแบบอินทรีย์ตามวิถีชาวบ้านไม่ใช้สารเคมี ปลูกตามที่ลาดเชิงเขาหรือที่ว่างเปล่าที่น้ำท่วมไม่ถึง โดยรักษาสภาพแวดล้อม การปลูกงาจะเริ่มตั้งแต่กลางเดือนเมษายน – เดือนพฤษภาคม ขึ้นอยู่กับความพร้อมของเกษตรกรและสภาพภูมิอากาศ(งาแต่ละชนิดจะปลูกคนละช่วงกัน ในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนมีการปลูกงาดำ  งาขาว  งามน(งาม้อน) บางแห่งมีการปลูกงาแดงด้วย) งาพันธ์ุพื้นเมืองในช่วงที่กำลังออกดอกและเริ่มจะมีฝักอยูในช่วงเดือนกรกฎาคม เกษตรกรกลุ่มเครือข่ายผู้ปลูกงาเริ่มเก็บเกี่ยวงาในช่วงกลางเดือนสิงหาคม-ถึงต้นเดือนกันยายน ตามอายุของงาแต่ละชนิด(งาดำ  งาขาว  และงามน) วิธีการตากงาที่อยู่ในฝักที่แก่เต็มที่แล้ว แต่ยังมีความชื้นสูงอยู่โดยใช้วิธีตั้งมัดงาให้พิงกันเพื่อให้ได้รับแสงแดดขับไล่ความชื้นจากฝักและเมล็ดงาให้แห้งในระดับหนึ่ง เมื่อมัดงาที่ตากแดดไว้ประมาณ 3-5 แดดหรือจนฝักแห้งและแตกอ้า ก็จะทำการเคาะเมล็ดออกจากฝัก ถ้าเคาะแล้วเมล็ดยังออกจากฝักไม่หมดก็จะตากแดดไว้อีก 2-3 แดดจึงนำมาเคาะเมล็ดอีกครั้ง  ผลผลิตของงาพันธ์ุพื้นเมืองต่อไร่ประมาณ 70-100 กก.ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ สภาพภูมิอากาศในแต่ละปี. อ้างอิง www.muengthai.com