ผ้าทอ ปวาเก่อญอ

ชาวปกากะญอ หรือกะเหรี่ยง นิยมใส่เสื้อผ้าฝ้ายทอมือมาแต่สมัยโบราณ ซึ่งแต่เดิมชาวกะเหรี่ยงจะปลูกฝ้ายเอง นำฝ้ายมาปั่นเป็นเส้นด้าย ย้อมด้วยสีธรรมชาติ สร้างลวดลายด้วยการทอ การปักด้วยเส้นไหม และลูกเดือย สตรีชาวกะเหรี่ยง จะถ่ายทอดภูมิปัญญากระบวนการผลิตผ้าทอ แก่บุตรสาว 12-15 ปี

เริ่มจากแบบง่ายๆ ฝึกฝนจนมีความชำนาญ และสามารถออกแบบลวดลายด้วยตนเองได้ สำหรับลวดลายผ้าทอของชาวกะเหรี่ยงนั้น มีเรื่องราวเล่าสืบมาว่า ได้มาจากลายหนังงูใหญ่ ซึ่งเป็นคู่รักในอดีตของหญิงสาวชาวกะเหรี่ยง โดยงูจะเปลี่ยนลายทุกวัน และหญิงสาวก็ทอผ้าตามลายที่ปรากฏจนครบ 7 วัน ทอได้ 7 ลาย แต่ลายที่นิยมนำมาทอ และปัก มี 4 ราย คือ โยห่อกือ เกอเป่เผลอ ฉุ่ยข่อลอ อีกลายหนึ่ง คือ ลายทีข่า ปัจจุบัน ยังมีลายที่ยมทอ คือ เกอแนเดอ หรือลายรังผึ้ง และเซอกอพอ หรือ ลายดอกมะเขือ

การย้อมผ้าฝ้ายสีธรรมชาติ ใช้เปลือกไม้ เรียกว่า ซาโก่แระ จะได้เป็นสีแดงแกมน้ำตาล ใบฮ่อม เซอ หย่า เหล่า ให้สีน้ำเงินแกมกรมท่า ผลสมอ ให้สีน้ำตาล และผลมะขามป้อมให้สีเทา เป็นต้น ชาวกะเหรี่ยงสร้างสรรค์ลวดลาย สีสันของผ้าทอจากธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว จึงมีความสวยงาม และคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์โดดเด่นของชาวกะเหรี่ยง มีการนำเมล็ดเดือย

ซึ่งเป็นวัชพืชป่า ปักบนผืนผ้า สร้างเป็นลวดลายลักษณะเฉพาะ เป็นที่สะดุดตาแก่บุคคลภายนอก ซึ่งสนใจซื้อหาไปสวมใส่ และเป็นของฝาก ทำให้สตรีชาวกะเหรี่ยงสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ผ้าทอเพื่อการจำหน่าย

นอกเหนือจากการทอผ้าไว้ใช้ในครัวเรือน เป็นการสร้างรายได้เพิ่มอีกทางหนึ่ง ผ้าทอกะเหรี่ยง ตามโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ได้รับการพัฒนาคุณภาพ รูปแบบให้เป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น สร้างงาน สร้างรายได้แก่ผู้ผลิต อย่างยั่งยืน ตลอดจนสืบสานภูมิปัญญาชาว

กะเหรี่ยง
ข้อมูล สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดแม่ฮ่องสอน